20 ม.ค. 2556

บรรณานุกรม

1.ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, “คำอธิบายกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สิน”, พิมพ์ครั้งที่ 4 (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2555)
2.ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, “คำอธิบายกฎหมายลักษณะทรัพย์”, พิมพ์ครั้งที่ 12 ปรับปรุงโดย ไพโรจน์ วายุภาพ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เนติบัณฑิตยสภา, 2552)
3.http://www.lawreform.go.th/
4.http://sukhothailaws.blogspot.com/2010/07/blog-post_2962.html
5.http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dd.php?id=633 

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในเรื่องดอกผลของทรัพย์ มีดังนี้

                  คำพิพากษาฎีกาที่ 2248/2529 แม้ที่ดินเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองหวงกันจากการใช้สอยของ บุคคลอื่นแล้วในระหว่างราษฎรด้วยกันจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จำเลยปลูกต้นยางพารา ต้นมะพร้าว ต้นสะตอ และ ต้นผลอาสินอื่นๆ ลงในที่ดินและเก็บเกี่ยวดอกผลตลอดมา ดอกผลของไม้ยืนต้นดัง กล่าวจึงเป็นของจำเลย อันอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์มีสิทธิยึด ดอกผลธรรมดาของไม้ยืนต้นดังกล่าว
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2506 ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่ง เลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ลูก สุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยา ส่วนของ เจ้ามรดกเป็นมรดกด้วย ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไร ก็มีส่วน แบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น[15]               
               คำพิพากษาฎีกาที่  894/2540  โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลง
ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีตามสำเนากู้เงินเป็นเบี้ยปรับนั้นจึงไม่ถูกต้อง[16]



[15] http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=633
[16] http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/thsc/2540/cd_22926.htm

3. ดอกผลของทรัพย์ (fruit)

          ในเรื่องดอกผลแห่งทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘ บัญญัติว่า ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
          ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
               ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
สาระสำคัญของดอกผลนิตินัย
1. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์หรือเป็นประโยชน์
2. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์
3. ดอกผลนิตินัยจะต้องตกได้แก่ผู้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์เป็นการตอบแทนจากการที่ผู้อื่นได้ใช้ตัวแม่ทรัพย์นั้น
4. ดอกผลนิตินัยจะต้องเป็นดอกผลที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นครั้งคราว
               ข้อสังเกต ผล กำไรที่ได้จากการขายทรัพย์ไม่ใช่ดอกผลนิตินัย แต่ผลกำไรที่ได้จากการแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนหรือเงินปันผลให้แก่ผู้ถือ หุ้นในบริษัท ถือว่าเป็นดอกผลนิตินัย
ผู้ใดมีสิทธิในดอกผล ?
เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นเจ้าของดอกผลของตัวแม่ทรัพย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นดอกผลนิตินัยหรือดอกผลธรรมดา
               ข้อสังเกต มาตรา 492 กำหนดให้กรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่ขายฝากเป็น ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่แล้วแต่กรณี เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีการไถ่ทรัพย์หรือวางทรัพย์เพื่อไถ่ทรัพย์นั้น ผู้รับซื้อฝากก็ไม่ต้องคืนดอกผล
               ข้อยกเว้นที่ผู้อื่นมีสิทธิในดอกผล
1. มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น
1.1 ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔ (๓))
1.2 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่(มาตรา ๔๑๕ วรรคหนึ่ง)
1.3 ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้มีสิทธิเอาคืน ผู้นั้นไม่ต้องคืนดอกผลคราบเท่าที่ยังสุจริตอยู่ เมื่อใดรู้ว่าจะต้องคืนก็ถือว่าไม่สุจรติแล้ว (มาตรา ๑๓๗๖ )
2. บุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์นั้นมีสิทธิเอาดอกผลไปชำระหนี้ที่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นหนี้ตน[14]


[14] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 50-56

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในเรื่องอุปกรณ์ มีดังนี้

               เลขที่ฎีกา  2003/2523    รถยนต์โจทก์ถูกชนเสียหายจนไม่อาจช่วยได้ โจทก์ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายคิดเท่าราคาที่โจทก์ซื้อกับ   ราคาค่ายางที่ติดรถกับยางอะไหล่ ยางรถและยางอะไหล่เป็นส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของตัวรถ ตามปกติประเพณีการค้าย่อมรวมอยู่ในราคาของรถที่ทำการซื้อขาย   เมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้นกับรถ  การเสื่อมค่าหรือราคาย่อมเป็นไปตามสภาพอยู่ด้วยกันทั้งหมด    อายุความละเมิด 1 ปีนับตั้งแต่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิดด้วย    คือนับตั้งแต่อธิบดีกรมตำรวจในฐานะตัวแทนกรมตำรวจรู้ความดังกล่าว[12]
เลขที่ฎีกา 201/2487 ในสัญญาซื้อขายระบุว่าขายที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้นย่อมครอบถึงโรง เรือนบนที่ดินซึ่งเสาไม่ได้ฝังดินด้วย
กรณีที่ถือว่าช่อไฟฟ้าที่ติดอยู่กับสิ่งปลูกสร้าง ไม่ใช่เป็นเครื่องอุปกรณ์ซึ่งไม่ตกติดไปกับสิ่งปลูกสร้างที่ขาย[13]

2. อุปกรณ์ของทรัพย์ (accessory)

           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗ บัญญัติว่า อุปกรณ์หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ ซึ่ง โดยปกตินิยม เฉพาะถิ่น หรือ โดยเจตนาชัดแจ้ง ของ เจ้าของ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็น ของใช้ประจำ อยู่กับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็น อาจิณ เพื่อประโยชน์ แก่ การจัดดูแล ใช้สอย หรือ รักษา ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน และ เจ้าของ ทรัพย์ ได้นำมาสู่ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน โดยการนำมา ติด ต่อ หรือ ปรับเข้าไว้ หรือ ทำโดย ประการอื่นใด ในฐานะ เป็น ของใช้ประกอบ กับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน นั้น
           
อุปกรณ์ ที่แยกออกจาก ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็นการชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากการ เป็น อุปกรณ์ ของ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน นั้น
           
อุปกรณ์ ย่อมตกติดไปกับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เว้นแต่ จะมีการกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น
.อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์ที่เป็นประธาน ถ้าไม่มีทรัพย์ที่เป็นประธาน จะมีอุปกรณ์ไม่ได้
.อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เสมอไป อสังหาริมทรัพย์จะเป็นอุปกรณ์ไม่ได้ เช่น สร้างคอกม้าติดกับที่ดินในลักษณะถาวร คอกม้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีลักษณะคล้ายกรงซึ่งเป็นอุปกรณ์ของนก แต่คอกม้าก็หาใช่อุปกรณ์ของม้าไม่
.อุปกรณ์ต้องมิใช่ทรัพย์ที่รวมสภาพความเป็นอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานจนแยกจากกันไม่ได้ เช่น ล้อเป็นส่วนควบของรถ แต่ล้ออะไหล่ที่นำมาไว้กับรถเพื่อใช้เปลี่ยนเมื่อยางรถแตกเป็นอุปกรณ์
.อุปกรณ์จะต้องมิใช่ทรัพย์ที่เป็นประธานด้วยกัน เช่น ช้อนกับซ้อม ตะเกียบ 2 ข้าง รองเท้า 2 ข้าง เพราะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
.อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ของเจ้าขอเดียวกันกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เช่น เจ้าของเรือยืมพายจากคนอื่นมาแล้วไม่ส่งคืนคงเก็บไว้ใช้กับเรือตลอดมา แม้จะนานเท่าใดก็หาใช่อุปกรณ์ของเรือนั้นไม่
.อุปกรณ์จะต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ ที่ว่าเป็นอาจิณนั้นหมายถึงนำมาใช้ในลักษณะยืนยาวตลอดไป แต่ไม่จำเป็นต้องตลอดไป เช่น เครื่องมือแก้รถ ถ้าเจ้าของซื้อมาขาย แม้จะยืมไปแก้รถของตนบ้าง เครื่องมือแก้รถนั้นจะหาใช่อุปกรณ์ไม่
.อุปกรณืจ้ะองใช้ประจำเป็นอาจิณกับทรัพย์ที่เป็นประธานเพื่อประโยชน์ในการจัด ดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน เช่นเครื่องมือแก้รถ หรือล้ออะไหล่รถยนต์ เป็นต้น
.อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานในฐานะเป็นเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ ดังกล่าวในข้อ ๗[1]


[1] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 45-50

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในเรื่องส่วนควบ มีดังนี้

              เลขที่ฎีกา1395/2525 จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ โดยไม่มีตัวถังโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น  จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธาน จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว   โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์ทั้งคัน เมื่อร่วมกับพนักงานสอบสวนยึดรถคืนมาจากโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง   ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือให้จำเลยใช้ค่าตัวต่อถังได้ตาม   ป.ว.พ. ม.142(2)
เมื่อผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตจากพ่อค้ารถยนต์  โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม   ป.พ.พ.ม.1336 การที่เจ้าของ

               ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า   โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าซื้อรถยนต์จากพ่อค้าซื้อขายของชนิดนั้นได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น[8]
                    เลขที่ฎีกา  503/2504 เครื่องยนต์สีข้าวไม่ใช้ทรัพย์ส่วนควบของตัวโรงสีจำนองไม่ได้ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703
               ผู้เช่าซื้อเอาเครื่องยนต์โรงสีจำนองไว้ในขณะที่ยังผ่อนส่งชำระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบนั้น    เป็นการจำนองที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703[9]

เลขที่ฎีกา    2105/2511   ซื้อที่ดินโดยมิได้ซื้อเรือนที่ปลูกอยู่บนที่ดินด้วยต่อมาผู้ขายจึงขายเรือนให้อีก  ดังนี้   เรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทันทีที่ได้ทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องจดทะเบียนการซื้อขายเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 อีก[10]




[9] ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 1, หน้า 45
  

ข้อยกเว้นในเรื่องส่วนควบ

               ทรัพย์ ใดแม้จะเข้าลักษณะที่จะเป็นส่วนควบ ดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็ตาม แต่ก็ยังมีข้อยกเว้นที่กฎหมายมิให้ถือว่าเป็นส่วนควบทรัพย์ดังกล่าวได้แก่
.ไม้ล้มลุก และธัญชาติ ซึ่งเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี (มาตรา ๑๔๕) เช่น พืชผักสวนครัว ถั่วลิสง ข้าวโพด เป็นต้น
.ทรัพย์ ที่ติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราว (มาตรา ๑๔๖) เช่น ปลูกอาคารเพื่อแสดงใรงานมหกรรมสินค้า เมื่อเสร็จงานก็รื้อไป หรือชาวบ้านที่ต่อออกไปเพื่อประโยชน์ในการมีงานวันเกิดชั่วคราวเสร็จก็รื้อ อก ดังนี้อาคารและชานบ้านนั้นมิช่ส่วนควบ
ข้อ สังเกตว่ามาตรา ๑๔๖นี้ บัญญัติถึงแต่เฉพาะทรัพย์ที่ติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าทรัพย์ติดกับสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น เช่น สะพาน อนุสาวรีย์ หอนาฬิกา แม้จะเพียงชั่วคราวก็ไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่เป็นส่วนควบ
.โรง เรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธิ นั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย (มาตรา ๑๔๖) เช่น ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินในที่ดินของผู้อื่นตามมาตรา ๑๔๑๐ ได้ปลูกสร้างบ้านหรือต้นไม้ลงไป บ้านและต้นไม้ย่อมมิใช่ส่วนตวบของที่ดินและผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินมีสิทธิ รื้นถอนไปได้ตามมาตรา ๑๔๑๖[7]


[7] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 32-33