20 ม.ค. 2556

1. ส่วนควบของทรัพย์ (Component)

               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๔ วรรคแรก บัญญัติว่าส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์ หรือ โดยจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไปดัง นั้น การที่ทรัพย์ใดจะเป็นส่วนตวบกับทรัพย์อีกสิ่งหนึ่งนั้น อย่างน้อยจะต้องมีทรัพย์สองส่วนขึ้นไปที่ปะกอบกันเป็นทรัพย์อยู่ ทรัพย์ที่ประกอบกันนั้นจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ก็ได้ จะเป็นเจ้าของเดียวกันหรือต่างเจ้าของก็ได้ จะมีทรัพย์ประธานหรือไม่ก็ได้ เช่น การเอาทอง เงิน และทองแดงมาหลอมรวมกันกลายเป็นนากจะ ไม่มีทรัพย์ส่วนใดเป็นประธาน เพราะจะเกิดเป็นของใหม่ขึ้นมา แต่การปลูกต้นมะม่วงซึ่นเป็นไม้ยืนต้นลงบนดิน ต้นมะม่วงย่อมเป็นส่วนควบกับที่ดินโดยมีที่ดินเป็นทรัพย์ประธาน[5]
มาตรา ๑๔๔ วรรคสอง บัญญัติว่า เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้นเมื่อ กฎหมายกำหนดสิทธิไว้เช่นนี้ เจ้าของทรัพย์ก็ย่อมเป็นเจ้าของส่วนควบของทรัพย์นั้นโดยอัตโนมัติตามอำนาจ แห่งกฎหมาย แม้ทรัพย์ที่เป็นส่วนควบนั้น ในการโอนกฎหมายกำหนดแบบไว้ก็ไม่ต้องกระทำตามแบบ หรือไม่จำต้องทำเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนแต่ประการใด[6]


[5] ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 1, หน้า 46
[6] ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 1, หน้า 42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น