20 ม.ค. 2556

2. อุปกรณ์ของทรัพย์ (accessory)

           ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๗ บัญญัติว่า อุปกรณ์หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ ซึ่ง โดยปกตินิยม เฉพาะถิ่น หรือ โดยเจตนาชัดแจ้ง ของ เจ้าของ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็น ของใช้ประจำ อยู่กับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็น อาจิณ เพื่อประโยชน์ แก่ การจัดดูแล ใช้สอย หรือ รักษา ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน และ เจ้าของ ทรัพย์ ได้นำมาสู่ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน โดยการนำมา ติด ต่อ หรือ ปรับเข้าไว้ หรือ ทำโดย ประการอื่นใด ในฐานะ เป็น ของใช้ประกอบ กับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน นั้น
           
อุปกรณ์ ที่แยกออกจาก ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เป็นการชั่วคราว ก็ยังไม่ขาดจากการ เป็น อุปกรณ์ ของ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน นั้น
           
อุปกรณ์ ย่อมตกติดไปกับ ทรัพย์ ที่เป็น ประธาน เว้นแต่ จะมีการกำหนดไว้ เป็นอย่างอื่น
.อุปกรณ์จะต้องมีทรัพย์ที่เป็นประธาน ถ้าไม่มีทรัพย์ที่เป็นประธาน จะมีอุปกรณ์ไม่ได้
.อุปกรณ์จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์เสมอไป อสังหาริมทรัพย์จะเป็นอุปกรณ์ไม่ได้ เช่น สร้างคอกม้าติดกับที่ดินในลักษณะถาวร คอกม้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีลักษณะคล้ายกรงซึ่งเป็นอุปกรณ์ของนก แต่คอกม้าก็หาใช่อุปกรณ์ของม้าไม่
.อุปกรณ์ต้องมิใช่ทรัพย์ที่รวมสภาพความเป็นอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานจนแยกจากกันไม่ได้ เช่น ล้อเป็นส่วนควบของรถ แต่ล้ออะไหล่ที่นำมาไว้กับรถเพื่อใช้เปลี่ยนเมื่อยางรถแตกเป็นอุปกรณ์
.อุปกรณ์จะต้องมิใช่ทรัพย์ที่เป็นประธานด้วยกัน เช่น ช้อนกับซ้อม ตะเกียบ 2 ข้าง รองเท้า 2 ข้าง เพราะมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
.อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ของเจ้าขอเดียวกันกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เช่น เจ้าของเรือยืมพายจากคนอื่นมาแล้วไม่ส่งคืนคงเก็บไว้ใช้กับเรือตลอดมา แม้จะนานเท่าใดก็หาใช่อุปกรณ์ของเรือนั้นไม่
.อุปกรณ์จะต้องเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณ ที่ว่าเป็นอาจิณนั้นหมายถึงนำมาใช้ในลักษณะยืนยาวตลอดไป แต่ไม่จำเป็นต้องตลอดไป เช่น เครื่องมือแก้รถ ถ้าเจ้าของซื้อมาขาย แม้จะยืมไปแก้รถของตนบ้าง เครื่องมือแก้รถนั้นจะหาใช่อุปกรณ์ไม่
.อุปกรณืจ้ะองใช้ประจำเป็นอาจิณกับทรัพย์ที่เป็นประธานเพื่อประโยชน์ในการจัด ดูแล ใช้สอยหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธาน เช่นเครื่องมือแก้รถ หรือล้ออะไหล่รถยนต์ เป็นต้น
.อุปกรณ์จะต้องเป็นทรัพย์ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธานในฐานะเป็นเครื่องใช้เพื่อประโยชน์ ดังกล่าวในข้อ ๗[1]


[1] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 45-50

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น