20 ม.ค. 2556

3. ดอกผลของทรัพย์ (fruit)

          ในเรื่องดอกผลแห่งทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๘ บัญญัติว่า ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
          ดอกผลธรรมดา หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
               ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่เจ้าทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้
สาระสำคัญของดอกผลนิตินัย
1. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์หรือเป็นประโยชน์
2. ดอกผลนิตินัยต้องเป็นทรัพย์ที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์
3. ดอกผลนิตินัยจะต้องตกได้แก่ผู้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์เป็นการตอบแทนจากการที่ผู้อื่นได้ใช้ตัวแม่ทรัพย์นั้น
4. ดอกผลนิตินัยจะต้องเป็นดอกผลที่ตกได้แก่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นครั้งคราว
               ข้อสังเกต ผล กำไรที่ได้จากการขายทรัพย์ไม่ใช่ดอกผลนิตินัย แต่ผลกำไรที่ได้จากการแบ่งกำไรของห้างหุ้นส่วนหรือเงินปันผลให้แก่ผู้ถือ หุ้นในบริษัท ถือว่าเป็นดอกผลนิตินัย
ผู้ใดมีสิทธิในดอกผล ?
เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นเจ้าของดอกผลของตัวแม่ทรัพย์นั้น ไม่ว่าจะเป็นดอกผลนิตินัยหรือดอกผลธรรมดา
               ข้อสังเกต มาตรา 492 กำหนดให้กรรมสิทธิ์ในทรัพยสินที่ขายฝากเป็น ของผู้ไถ่ตั้งแต่เวลาที่ผู้ไถ่ หรือวางทรัพย์อันเป็นสินไถ่แล้วแต่กรณี เพราะฉะนั้น ก่อนที่จะมีการไถ่ทรัพย์หรือวางทรัพย์เพื่อไถ่ทรัพย์นั้น ผู้รับซื้อฝากก็ไม่ต้องคืนดอกผล
               ข้อยกเว้นที่ผู้อื่นมีสิทธิในดอกผล
1. มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ เช่น
1.1 ดอกผลของสินส่วนตัวเป็นสินสมรส (มาตรา ๑๔๗๔ (๓))
1.2 บุคคลผู้ได้รับทรัพย์สินไว้โดยสุจริต ย่อมจะได้ดอกผลอันเกิดแต่ทรัพย์สินนั้นตลอดเวลาที่ยังคงสุจริตอยู่(มาตรา ๔๑๕ วรรคหนึ่ง)
1.3 ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้มีสิทธิเอาคืน ผู้นั้นไม่ต้องคืนดอกผลคราบเท่าที่ยังสุจริตอยู่ เมื่อใดรู้ว่าจะต้องคืนก็ถือว่าไม่สุจรติแล้ว (มาตรา ๑๓๗๖ )
2. บุคคลที่ไม่ได้เป็นเจ้าของแม่ทรัพย์นั้นมีสิทธิเอาดอกผลไปชำระหนี้ที่เจ้าของแม่ทรัพย์เป็นหนี้ตน[14]


[14] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 50-56

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น