20 ม.ค. 2556

ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์

                          ในการพิจรณาทรัพย์อย่างหนึ่งเราอาจพบว่าทรัพย์นั้นอาจอย่โดยเอกเทศหรือ ประกอบด้วยทรัพย์หลายๆชิ้น มาประกอบกันเป็นทรัพย์ชิ้นเดียวกัน หรือทรัพย์อย่างหนึ่งต้องอยู่คู่เคียงกับทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง หรืออาจมีส่วนเชื่อมโยงกัน หรือมีความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน เช่น หนังสือ จะประกอบด้วยปกหนังสือ กระดาษ และตัวหมึกพิมพ์ที่ทำให้ปรากฏเป็นตัวหนังสือ ส่วนประกอบของทรัพย์เหล่านี้ เรียกว่า ส่วนควบ
ทรัพย์ บางอย่างมิได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นส่วนประกอบของกันและกันเพียงแต่ เป็นสิ่งที่ใช้ควบคู่กัน เช่น แว่นตากับปลอกแว่นตาหรือกล่องแว่นตา โดยปกติก็จะใช้อยู่ด้วยกัน แม้บางครั้งเจ้าของแว่นตาจะไม่เอาปลอกแว่นตาหรือกล่องแว่นตาไปด้วย โดยลืมไว้ที่บ้านก็ไม่ได้ทำให้แว่นตาเสื่อมสภาพใช้อ่านหนังสือไม่ได้ เพียงแต่ใช้ควบคู่กับแว่นตา เพื่อประโยชน์ในการดูลรักษาแว่นตา ความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์เหล่านี้ เรียกว่าอุปกรณ์
นอก จากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ระหว่างทรัพย์ในรูปแบบอื่น เช่น การที่ทรัพย์อย่างหนึ่งเกิดงอกเงยจากทรัพย์อีกอย่างหนึ่ง เช่น ผลไม้งอกออกจากกิ่งไม้หรือต้นไม้ ลูกสุนัขเกิดจากแม่สุนัข หรือดอกเบี้ยเป็นผลประโยชน์ที่งอกเงยมาจากต้นเงินที่อาไปฝากสถาบันการเงิน เป็นต้น
               ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดความสัมพันธ์ของทรัพย์ทั้งหลายอันจะพึงมีในระหว่างกันไว้เป็น 3 ลักษณธ คือ ส่วนควบของทรัพย์ อุปกรณืของทรัพย์ และดอกผลของทรัพย์ ซึ่งได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ตรวจชำระใหม่ มาตรา ๑๔๔ ถึงมาตรา ๑๔๘ ดังจะได้กล่าวในรายละเอียด ดังต่อไปนี้[4]


[4] ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 1, หน้า 41

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น