20 ม.ค. 2556

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในเรื่องส่วนควบ มีดังนี้

              เลขที่ฎีกา1395/2525 จำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์ โดยไม่มีตัวถังโจทก์เป็นผู้ว่าจ้างให้ต่อตัวถังขึ้น  จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ประธาน จึงเป็นเจ้าของทรัพย์ที่รวมเข้ากันนั้นแต่ผู้เดียว   โจทก์ฟ้องให้จำเลยชดใช้ราคารถยนต์ทั้งคัน เมื่อร่วมกับพนักงานสอบสวนยึดรถคืนมาจากโจทก์จึงไม่เป็นการละเมิดพิจารณาได้ความว่าโจทก์ควรได้แต่ส่วนแบ่ง   ศาลก็ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับแต่ส่วนแบ่งคือให้จำเลยใช้ค่าตัวต่อถังได้ตาม   ป.ว.พ. ม.142(2)
เมื่อผู้ขายมิใช่เจ้าของที่แท้จริง แม้โจทก์จะรับซื้อไว้โดยสุจริตจากพ่อค้ารถยนต์  โจทก์ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ตาม   ป.พ.พ.ม.1336 การที่เจ้าของ

               ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ว่า   โจทก์เป็นเจ้าของรถยนต์คันพิพาทพร้อมตัวถังและอุปกรณ์ตามฟ้องหรือไม่ คดีย่อมมีประเด็นที่ศาลจะวินิจฉัยแต่เพียงว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทโดยซื้อมาจากเจ้าของที่แท้จริงหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าซื้อรถยนต์จากพ่อค้าซื้อขายของชนิดนั้นได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. ม.1332 จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น[8]
                    เลขที่ฎีกา  503/2504 เครื่องยนต์สีข้าวไม่ใช้ทรัพย์ส่วนควบของตัวโรงสีจำนองไม่ได้ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703
               ผู้เช่าซื้อเอาเครื่องยนต์โรงสีจำนองไว้ในขณะที่ยังผ่อนส่งชำระราคาค่าเช่าซื้อไม่ครบนั้น    เป็นการจำนองที่ฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 703[9]

เลขที่ฎีกา    2105/2511   ซื้อที่ดินโดยมิได้ซื้อเรือนที่ปลูกอยู่บนที่ดินด้วยต่อมาผู้ขายจึงขายเรือนให้อีก  ดังนี้   เรือนตกเป็นส่วนควบของที่ดินและตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อทันทีที่ได้ทำสัญญาซื้อขาย โดยไม่ต้องจดทะเบียนการซื้อขายเรือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 อีก[10]




[9] ศาสตราจารย์ศรีราชา เจริญพาณิช, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 1, หน้า 45
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น