20 ม.ค. 2556

ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาในเรื่องดอกผลของทรัพย์ มีดังนี้

                  คำพิพากษาฎีกาที่ 2248/2529 แม้ที่ดินเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน แต่เมื่อจำเลยเข้าครอบครองหวงกันจากการใช้สอยของ บุคคลอื่นแล้วในระหว่างราษฎรด้วยกันจำเลยย่อมมีสิทธิดีกว่าผู้อื่น จำเลยปลูกต้นยางพารา ต้นมะพร้าว ต้นสะตอ และ ต้นผลอาสินอื่นๆ ลงในที่ดินและเก็บเกี่ยวดอกผลตลอดมา ดอกผลของไม้ยืนต้นดัง กล่าวจึงเป็นของจำเลย อันอยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี โจทก์มีสิทธิยึด ดอกผลธรรมดาของไม้ยืนต้นดังกล่าว
คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2506 ลูกสุกรเกิดจากสุกรพ่อและสุกรแม่ซึ่ง เลี้ยงไว้ในระหว่างเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ แต่เกิดเมื่อเจ้ามรดกตายแล้ว ลูก สุกรและเงินที่ขายลูกสุกรได้ก็เป็นสินสมรสระหว่างเจ้ามรดกกับภรรยา ส่วนของ เจ้ามรดกเป็นมรดกด้วย ทายาทมีส่วนแบ่งในสุกรพ่อและสุกรแม่อย่างไร ก็มีส่วน แบ่งในลูกสุกรหรือเงินที่ขายได้อย่างนั้น[15]               
               คำพิพากษาฎีกาที่  894/2540  โจทก์ผู้ให้กู้มีสิทธิคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์นี้จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้ หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลง
ดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่ ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปีตามสำเนากู้เงินเป็นเบี้ยปรับนั้นจึงไม่ถูกต้อง[16]



[15] http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=633
[16] http://www.lawreform.go.th/lawreform/images/th/jud/th/thsc/2540/cd_22926.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น