20 ม.ค. 2556

ลักษณะสำคัญของทรัพย์ และทรัพย์สิน

ทรัพย์ และทรัพย์สินมัลักษณะสำคัญอยู่ ๒ ประการ คือ
.ทรัพย์ คือวัตถุที่มีรูปร่าง ส่วนทรัพย์สิน คือวัตถุที่มีรูปร่างก็ได้ หรือไม่มีรูปร่างก็ได้
.วัตถุที่มีรูปร่างหรือไม่มีรูปร่างนั้นต้อง อาจมีราคาได้ และต้องอาจถือเอาได้
               ทรัพย์และทรัพย์สินจะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ ๒ ประการดังกล่าวแล้ว หากขาดหลักเกณฑ์ข้อหนึ่งข้อใดไป ก็จะเป็นทรัพย์หรือทรัพย์สินมิได้ เช่น ดวงดาว ดวงจันทร์ เมฆบนท้องฟ้า อากาศ ทะเล ไม่ใช่สิ่งที่จะยึดถือเอาได้ จึงไม่ใช่ทรัพย์หรือทรัพย์สิน แต่ถ้ามีผู้นำน้ำทะเลมากลั่นให้เป็นน้ำจืดและนำออกขาย หรือนำอากาศมาทำเป็นอ็อกซิเจนช่วนมนการหายใจ หรือนำอากาศมาใช้เติมยางรถยนค์ น้ำทะเลและอากาศก็กลายเป็นสิ่งที่มีราคาและถือเอาได้ทันที จึงเป็นทรัพย์สินขึ้นมา
               คำว่า วัตถุมีรูปร่างนั้น หมายถึงสิ่งที่เห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสได้ เช่น หนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ บ้านเรืออน รถ เรือ ม้า เป็นต้น แต่กระแสไฟฟ้าซึ่งเป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีรูปร่าง จึงน่าจะเป็นทรัพย์สินมิใช่ทรัพย์นั้น ได้มีคำพิพากษาฎีกาที่ ๘๗๗/๒๕๐๑ วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มตรา ๓๓๔ หรือ ๓๓๕ แล้วแต่กรณี
               คำว่า วัตถุไม่มีรูปร่างหมายถึงสิ่งที่มองไม่เห็นได้ด้วยตา จับต้องสัมผัสไม่ได้ เช่น แก๊ส กำลังแห่งธรรมชาติ เป็นต้น และยังได้แก่ทรัพยสิทธิและสิทธิต่างๆอันเกี่ยวกับทรัพย์และทรัพย์สินดังที่บัญญัติไว้มนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๙ และ ๑๔๐ ด้วย แต่ทรัพยสิทธิและสิทธิต่างๆ ที่จะเป็นทรัพย์สินนี้จะต้องเป็นทรัพยสิทธิและสิทธิที่กฎหมายไทยรับรองแล้ว เช่น กรรมสิทธ์ สิทธฺครอบครอง ภารจำยอม สิทธฺอาศัย สิทธิเก็บกิน สิทธิเหนือพื้นที่ ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ จำนำ จำนอง ลิขสิทธิ์
               คำว่า อาจมีราคาได้นั้น ราคาหมายถึงคุณค่าในตัวเอง สิ่งนั้นเอง แม้บางสิ่งจะมีค่าหรือราคาลดน้อยลงไปบ้างก็ยังคงเป็นทรัพย์สิน สิ่งบางอย่างอาจซื้อขายด้วยราคามิได้ แต่อาจมีคุณค่าเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทางเศรษฐกิจหรือทางจิตใจอยู่ก็ได้ เช่นจดหมายติดต่อระหว่างคู่รัก ประกาศตั้งชื่อสกุล เป็นต้น สลากกินแบ่งรัฐบาลก็เป็นทรัพย์สินซึ่งซื้อขายเปลี่ยนมือกันได้ แม้สลากที่ไม่ถูกรางวัลแล้ว ก็อาจมีราคาได้ ถ้าเจ้าของยังหวงแหนนักษาไว้เป็นที่ระลึก
               คำว่า อาจถือเอาได้นั้น หมายถึงอาจเข้าหวงกันไว้เพื่อนเอง ไม่จำเป็นต้องเข้ายึดจับต้องได้จริงจัง เช่น ปลาในโป๊ะ แม้เจ้าของโป๊ะจะยังไม่ทันจับปลาก็เรียกได้ว่าเจ้าของโป๊ะอาจถือเอาได้แล้วเพราะมีการกั้นป๊ะแสดงความหวงกันไว้เพื่อตนเอง[3]



[3] ศาสตราจารย์บัญญัติ สุชีวะ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 2, หน้า 4-8

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น